Get Adobe Flash player

You are here

Home » หลักสูตร

1.  ชื่อหลักสูตร
    ชื่อภาษาไทย:        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
    ชื่อภาษาอังกฤษ:        Bachelor of Science Program in Applied Biology 
   

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็มภาษาไทย:        วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาประยุกต์)  
    ชื่อย่อภาษาไทย:              วท.บ. (ชีววิทยาประยุกต์)
    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ:          Bachelor of Science (Applied Biology)
    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ:           B.Sc. (Applied Biology)

2.  ลักษณะสาขาวิชา
        2.1 ปรัชญา
          ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านชีววิทยาประยุกต์ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
        2.2 ความสำคัญ
การศึกษาทางด้านชีววิทยาได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการค้นคว้าวิเคราะห์ วิจัยในช่วงเวลายาวนานที่ผ่านมาให้ประโยชน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยได้เปิดเผยความลี้ลับทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์และจุลินทรีย์ทั่วไป โดยเฉพาะปัจจัย 4 อันประกอบด้วย อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้เราสามารถสกัดสารและสังเคราะห์สารต่างๆจากพืช สัตว์และจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาทางชีววิทยาระดับโมเลกุล ทำให้เราสามารถพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์และจุลินทรีย์ชนิดใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายเป็นไป ทั้งเพื่อการอยู่รอดและในเชิงเศรษฐกิจ การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ตามหลักทางพันธุศาสตร์ ให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเพียงพอต่อการบริโภค
    และโดยทางอ้อมการศึกษาทางชีววิทยาทำให้เราเข้าใจหลักการทางนิเวศวิทยา มองเห็นประโยชน์ของความหลากหลายทางธรรมชาติช่วยแก้ปัญหามลภาวะต่างๆ ให้แก่บรรยากาศ รักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ลดปัญหาความแห้งแล้ง ป้องกันน้ำท่วมและการพังทลายของดินและช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆให้คงอยู่ต่อไป
2.3 วัตถุประสงค์
    2.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
    2.3.2 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านชีววิทยา สามารถใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อประกอบวิชาชีพของตนและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
    2.3.3 ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ในการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม 
    2.3.4 ผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น บริหารจัดการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
    2.3.5 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ตลอดถึงการใช้เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.4 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    2.4.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
       2.4.2 มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
      2.4.3 ผู้เข้าศึกษามีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 
                1)  โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
    2)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
    3)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
    4)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

3. แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
    1)  ครู-อาจารย์ (ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1 ปี) ในส่วนราชการและเอกชน
    2)  นักวิจัยในหน่วยงานราชการและเอกชน
    3)  พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม
    4)  นักวิจัยอิสระ นักวิชาการอิสระ
    5)  เจ้าหน้าที่ขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์
    6)  เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ
    7)  พนักงานบริษัทเอกชน
    8)  ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
    9)  ประกอบอาชีพอิสระ

ระบบสารสนเทศ