Get Adobe Flash player

You are here

Home » หลักสูตร

1.  ชื่อหลักสูตร
    ชื่อภาษาไทย:    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและลิโอเคมี
    ชื่อภาษาอังกฤษ:    Bachelor of Science Program in Palm and Oleochemical Technology   
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็มภาษาไทย:    วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและลิโอเคมี)  
    ชื่อย่อภาษาไทย:         วท.บ. (เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและลิโอเคมี)
    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ:         Bachelor of Science (Palm Oil and Oleochemical Technology) 
    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ:          B.Sc. (Palm Oil and Oleochemical Technology)


2.  ลักษณะสาขาวิชา
    2.1 ปรัชญา
          สร้างบัณฑิตผู้มีจริยธรรม คุณธรรม มีความรู้ความสามารุ และทักษะในการปฏิบัติงานจริง ก้าวเท่าทันเทคโนโลยีทางน้ำมันปาล์มและโอลีโอเคมี ใช้ความรู้ความสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ
    2.2 ความสำคัญ
          หลักสูตร“เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและโอลิโอเคมี” ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งหวังในการสร้างบัณฑิตสู่ตลาดงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและอุตสาหกรรมโอลิโอเคมี  ซึ่งนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านพลังงานและด้านอาหารซึ่งถือเป็นความมั่นคงของชาติ  โดยในทศวรรษที่   ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอย่างเป็นรูปธรรม  อาทิเช่น การจัดตั้ง“คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(Thailand Oil Palm Board)”  การกำหนดยุทธศาสตร์ภายใต้ “แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม              พ.ศ.    2551 – 2555” ที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ “ยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล” ของกระทรวงพลังงาน  นอกจากนั้นแล้วในอนาคตอันใกล้อุตสาหกรรมปาล์ม    น้ำมันของประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบการดำเนินงานของ RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนทั้งวงจร  การผลิต ซึ่งจากนโยบาย  แผนการพัฒนาและยุทธศาสตร์ทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วนี้  ประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขานี้โดยตรง   ทำให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เห็นความจำเป็นและความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและโอลิโอเคมี  เพื่อผลิตบัณฑิตรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้
    นอกจากนั้นแล้วหลักสูตรเทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและโอลิโอเคมี ยังถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของภาคใต้ และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น  เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจพื้นฐานคู่กับยางพารา  บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรเทคโนโลยีน้ำมันปาล์ม  และโอลิโอเคมี  สามารถใช้ความรู้ความสามารถของตนเองในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น และมีโอกาสในการทำงานในภูมิลำเนาซึ่งเป็นการช่วยรักษาสถาบันครอบครัวและสังคมท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

    2.3 วัตถุประสงค์
    2.3.1 เพื่อสร้างบัณฑิตผู้มีจริยธรรม คุณธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
    2.3.2 เพื่อสร้างบัณฑิตผู้มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและโอลิโอเคมีที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงทั้งในสถานประกอบการ และมีศักยภาพในการที่จะพัฒนากิจการของตนเอง
    2.3.3 เพื่อสามารถต่อยอดในการวิจัยและพัฒนา ทางเทคโนโลยีน้ำมันปาล์มและโอลิโอเคมี
    2.3.4 เพื่อสร้างบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสามารถแก้ปัญหาได้ มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.4 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    2.4.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
    2.4.2 เป็นผู้มีความประพฤติดี
    2.4.3 มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    2.4.4 มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 

โดยมีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ดังนี้
- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

3. แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
        นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและพัฒนา เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ ผู้ควบคุมดูแลการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ในหน่วยงานต่อไปนี้
- หน่วยงานเอกชน ได้แก่ สถานประกอบการและอุตสาหกรรมทางด้านน้ำมันปาล์ม   และผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมี อุตสาหกรรมอาหาร (ไขมันและน้ำมัน) อุตสาหกรรมพลังงานและพลังงานทางเลือกอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น 
- หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันวิจัย และหน่วยงานของมหาวิทยาลัยต่างๆ
- ธุรกิจส่วนตัว เช่น ประกอบอาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม และเคมีภัณฑ์จากน้ำมันและไขมันธรรมชาติอื่นๆ          
    นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาที่เกี่ยวข้องเช่น เคมีอุตสาหกรรม  วิศวกรรมเคมี ปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมอาหาร  เป็นต้น

ระบบสารสนเทศ