Get Adobe Flash player

You are here

Home » หลักสูตร

1.  ชื่อหลักสูตร
    ชื่อภาษาไทย:        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
    ชื่อภาษาอังกฤษ:     Bachelor of Science Program in Industrial Chemistry

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
        ชื่อเต็มภาษาไทย:        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมีอุตสาหกรรม)  
        ชื่อย่อภาษาไทย:         วท.บ. (เคมีอุตสาหกรรม)
    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ:         Bachelor of Science (Industrial Chemistry)
    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ:          B.Sc. (Industrial Chemistry)

2.  ลักษณะสาขาวิชา
    2.1 ปรัชญา
          ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมเคมี มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
    2.2 ความสำคัญ
          หลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม ได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งหวังในการสร้างบัณฑิตสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านอาหาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นความมั่นคงของชาติ โดยในทศวรรษที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีอย่างเป็นรูปธรรม แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขานี้โดยตรง ทำให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เห็นความจำเป็นในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม เพื่อผลิตบัณฑิตรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเคมี
    2.3 วัตถุประสงค์
     2.3.1     ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
    2.3.2     ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้และทักษะทางเคมีอุตสาหกรรม ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงในสถานประกอบการ และมีศักยภาพในการที่จะพัฒนากิจการของตนเอง
    2.3.3     ผลิตบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อยอดในการวิจัยและพัฒนาทางเคมีอุตสาหกรรม
    2.3.4     ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
    2.3.5     ผลิตบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ใช้ศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี
 2.4 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    2.4.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - 
คณิตศาสตร์
             2.4.2 มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วย
การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 
1)  โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
2)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
3)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
4)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

3. แนวทางการประกอบอาชีพและศึกษาต่อ
        นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและพัฒนา เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ ผู้ควบคุมดูแลการผลิต และการควบคุมคุณภาพ ในหน่วยงานต่อไปนี้
- หน่วยงานเอกชน ได้แก่ สถานประกอบการและอุตสาหกรรมทางด้านเคมีอุตสาหกรรม   เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมพลังงานและพลังงานทางเลือก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น 
- หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันวิจัย และหน่วยงานของมหาวิทยาลัยต่างๆ
- ธุรกิจส่วนตัว เช่น ประกอบอาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์จากน้ำมัน และไขมันธรรมชาติ         
    นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น 
เคมีอุตสาหกรรม วิศวกรรมเคมี ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น

ระบบสารสนเทศ